สาขาวิชาศิลปะการประกอบอาหารและการจัดการภัตตาคาร
B.A. (Culinary Arts and Kitchen Management)
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาศิลปะการประกอบอาหารและการจัดการภัตตาคาร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาศิลปะการประกอบอาหารและการจัดการภัตตาคารB.A. (Culinary Arts and Kitchen Management)
โครงสร้างหน่วยกิตรวม 136 นก. (124 นก.+12 นก.)
องค์ความรู้หลักของสาขาวิชา
สาขาวิชาการจัดการครัวและศิลปะการประกอบอาหาร มีการเรียนการสอนที่เกี่ยวกับวิชาบริการธุรกิจ และเรียนวิชาเกี่ยวกับงานครัว มีเรียนวิชาปฏิบัติในสาขาวิชา ทั้งวิชาอาหารไทย อาหารว่าง ขนมไทย อาหารนานาชาติ เบเกอรี่ การจัดการภัตตาคาร การจัดตกแต่งอาหาร การจัดโต๊ะอาหาร การคำนวณต้นทุนอาหาร การกำหนดราคา การคำนวณคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร การคำนวณพลังงานของแต่ละบุคคล และวิชาที่เกี่ยวกับการดำเนินงานและบริการจัดเลี้ยง โดยนิสิตได้ลงมือปฏิบัติการอาหารอย่างชำนาญ
นอกจากนี้มีการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 2 ครั้ง ๆ ละ 400 ชั่วโมง โดยมีการฝึกในชั้นปีที่ 3 ช่วงภาคเรียนฤดูร้อน และชั้นปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 โดยนิสิตจะได้ฝึกงานด้านงานครัวในโรงแรม ภัตตาคาร และสถานประกอบการด้านอาหาร
แนวทางการประกอบอาชีพ
นิสิตที่สำเร็จการศึกษา สามารถเป็นบุคลากรขององค์การที่เกี่ยวข้องกับงานครัว ดังนี้
1. ผู้ช่วย/ผู้อำนวยการการครัว
2. เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านการผลิตและบริการอาหารในอุตสาหกรรมบริการอาหาร
3. นักพัฒนาตำรับและรายการอาหารในอุตสาหกรรมบริการอาหาร
4. ผู้บริหารในสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมบริการอาหาร
5. นักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารในอุตสาหกรรมบริการอาหาร
6. เจ้าของธุรกิจ/นักธุรกิจด้านเทคโนโลยีการผลิตและการบริการอาหาร
7. อาจารย์/นักวิชาการ/ ที่ปรึกษาการผลิตและการบริการอาหาร
8. นักเขียน/นักวิจารณ์ด้านเทคโนโลยีการผลิตและการบริการอาหาร
9. นักจัดและตกแต่งอาหารเพื่อการโฆษณา
หมายเหตุ : อุตสาหกรรมบริการอาหาร หมายถึง ร้านอาหาร ภัตตาคาร โรงแรม และครัวสายการบิน
จุดเด่นของสาขาวิชา
“นำความรู้ คู่คุณธรรม งานบริการอาหารสู่สากล”
นิสิตมีความรู้ ความชำนาญ และทักษะด้านการครัวและการประกอบอาหาร ซึ่งเป็นประสบการณ์ในการนำไปประกอบอาชีพ สามารถนำไปสอบวัดระดับฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาผู้ประกอบอาหารไทย ระดับ 1 สามารถนำไปใช้ในการทำงานในประเทศและต่างประเทศได้ รวมทั้งสามารถนำไปประกอบกิจการส่วนตัว เช่น ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจผลิตภัณฑ์ทางด้านอาหาร ธุรกิจแฟรนไซส์ด้านอาหาร เป็นต้น
กิจกรรมเสริมความรู้และประสบการณ์
มีการศึกษาดูงาน และจัดกิจกรรมเสริมทักษะความรู้ เผยแพร่ความรู้สู่ชุมชน มีการประกวดทักษะความสามารถทางด้านอาหาร เพื่อเพิ่มประสบการณ์ให้แก่นิสิต