หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมบริการด้านการกีฬาและสุขภาพ
B.A. (Sports and Wellness Services Industry Management)
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมบริการด้านการกีฬาและสุขภาพ
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมบริการด้านการกีฬาและสุขภาพB.A. (Sports and Wellness Services Industry Management)
โครงสร้างหน่วยกิตรวม 126 นก. (114 นก.+12 นก.)
องค์ความรู้หลักของสาขาวิชา
ศึกษากระบวนการบริหารจัดการทางกีฬา การจัดการแข่งขัน การบริหารธุรกิจกีฬา การทำตลาดทางกีฬา การบริหารสิ่งอำนวยความสะดวกทางกีฬา กฎหมายทางกีฬา สิทธิประโยชน์ทางกีฬาและบริหารความเสี่ยง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการกีฬา การท่องเที่ยวทางกีฬา และการสื่อสารมวลชนทางกีฬา
นอกจากนี้ ยังมีวิชาภาคปฏิบัติทางกีฬาที่นิสิตต้องเรียนรู้ประสบการณ์จริงจากการจัดการแข่งขัน เช่น กีฬาฟุตบอล วอลเลย์บอล บาสเกตบอล แบดมินตัน แอโรบิก และว่ายน้ำ
อีกทั้งมีการนำนิสิตศึกษาดูงานในสถานประกอบการณ์ทางกีฬา ในด้านการบริหารจัดการกีฬาทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนนิสิตต้องออกฝึกประสบการณ์จริงในหน่วยงานต่าง ๆ ทางกีฬาทั่วประเทศ
แนวทางการประกอบอาชีพ
1. เจ้าหน้าที่บริหารจัดการศูนย์กีฬาต่าง ๆ เช่น สระว่ายน้ำ ศูนย์ Fitness หรือศูนย์กีฬาต่าง ๆ
2. อาจารย์/ครูพลศึกษา โรงเรียนเอกชน
3. บุคคลากรทางการกีฬาทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น เจ้าหน้าที่พลศึกษาจังหวัด เจ้าหน้าที่ กกท.จังหวัด สโมสรกีฬาต่าง ๆ บริษัทที่ทำธุรกิจทางสิ่งอำนวยความสะดวกทางกีฬา และบริษัทออแกไนซ์เซอร์ทางกีฬาต่าง ๆ (สยามสปอร์ต)
4. ธุรกิจส่วนตัวด้านกีฬา เช่น ธุรกิจร้านอุปกรณ์กีฬา รองเท้ากีฬา เสื้อผ้ากีฬา
5. ผู้สื่อข่าวทางกีฬา เจ้าหน้าที่ด้านสื่อสารมวลชนทางกีฬา
6. ผู้จัดและ/หรือผู้ควบคุมดูแลการแข่งขันกีฬา
7. หน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกีฬา
จุดเด่นของสาขาวิชา
“มากความรู้และประสบการณ์ มีคุณธรรม เป็นผู้นำทางการจัดการการกีฬา”
นิสิตที่เรียนสาขาวิชาการจัดการการกีฬา จะต้องเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ศึกษาดูงาน และ ฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการจริง เพื่อให้นิสิตสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติได้ทันที และหลากหลาย ทั้งทางด้านการบริหารจัดการศูนย์กีฬา และจัดการแข่งขันกีฬาระดับชาติและนานาชาติ
กิจกรรมเสริมความรู้และประสบการณ์
1. นำนิสิตศึกษาดูงานในหน่วยงานทางกีฬา
2. เชิญผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาสอนและให้คำแนะนำ
3. ฝึกประสบการณ์จัดกิจกรรมกีฬา/จัดการแข่งขันกีฬากับทุกกลุ่มวัย เพื่อให้นิสิตได้รับประสบการณ์ตรงและนำไปใช้ได้ทันที เช่น โครงการสอนน้องเล่นกีฬา Sports Summer Camp กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้กับผู้สูงวัยในชุมชน