Certificate Program for Nurses’ aides / Caregivers

คำถาม-คำตอบ หลักสูตรประกาศนียบัตรพนักงานให้การดูแล

(หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564)

ชื่อประกาศนียบัตร
ประกาศนียบัตรพนักงานให้การดูแล

ระยะเวลาเรียน

เป็นหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น ใช้เวลาเรียน 4 เดือน

ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร

หลักสูตรมุ่งเน้น ให้เป็นผู้ที่สามารถช่วยดูแลผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยขั้นพื้นฐานเสมือนญาติ ให้การดูแลในเรื่องกิจวัตรประจำวัน อาทิ การให้อาหาร การพักผ่อน การเคลื่อนไหวร่างกาย ความสะอาด ความปลอดภัย เป็นต้น เป็นหลักสูตรตามเกณฑ์ของสภาการพยาบาลกำหนด โดยผู้จบการศึกษาสามารถหางานทำได้ง่าย รายได้ดี โดยเฉพาะในสังคมที่เป็นสังคมผู้สูงวัย

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 17 หน่วยกิต (525 ชั่วโมง)
1) ทฤษฎี 11 หน่วยกิต (165 ชั่วโมง)
2) ปฏิบัติ 6 หน่วยกิต (360 ชั่วโมง)

รายวิชาที่เรียน

1) กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาเบื้องต้น 1 หน่วยกิต (ทฤษฎี)

2) การดูแลผู้สูงอายุ 2 หน่วยกิต  (ทฤษฎี 1 หน่วยกิต ปฏิบัติ 1 หน่วยกิต)

3) การดูแลด้านการจัดอาหาร 1 หน่วยกิต  (ทฤษฎี)

4) การควบคุมและป้องกันการติดเชื้อที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน 2 หน่วยกิต (ทฤษฎี 1 หน่วยกิต  ปฏิบัติ 1 หน่วยกิต)

5) การดูแลด้านจิตสังคม  2 หน่วยกิต  (ทฤษฎี 1 หน่วยกิต ปฏิบัติ 1 หน่วยกิต)

6) จริยธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 1 หน่วยกิต  (ทฤษฎี)

7) การช่วยเหลือดูแลบุคคลขั้นพื้นฐาน 3 หน่วยกิต  (ทฤษฎี 1 หน่วยกิต ปฏิบัติ 2 หน่วยกิต)

8) การบันทึกและการรายงาน 1 หน่วยกิต  (ทฤษฎี)

9) การบำรุงรักษาและทำความสะอาดเครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์การรักษาพยาบาล

2 หน่วยกิต  (ทฤษฎี 1 หน่วยกิต ปฏิบัติ 1 หน่วยกิต)

10) พฤติกรรมบริการ 1 หน่วยกิต  (ทฤษฎี)

11) ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษพื้นฐานเพื่อการบริการด้านสุขภาพ 1 หน่วยกิต  (ทฤษฎี) 

การจัดการเรียนการสอน

การจัดการเรียนการสอน แบ่งเป็น 3 ส่วน

    1) ภาคทฤษฎี จำนวน 165 ชั่วโมง ประมาณ 1 เดือน ที่วิทยาเขตบางกะปิ

    2) ภาคปฏิบัติเบื้องต้น 1 สัปดาห์ ที่วิทยาเขตปทุมธานี

    3) ฝึกปฏิบัติงานที่โรงพยาบาล ประมาณ 2 เดือนครึ่ง 

2) + 3) จำนวน 360 ชั่วโมง

Our Campus

Bangkapi Campus

ภาคทฤษฎี

ณ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต วิทยาเขตบางกะปิ

ภาคปฏิบัติ

ณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต วิทยาเขตปทุมธานี และโรงพยาบาลที่อยู่ในเครือข่ายความร่วมมือ

Qualification

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม

1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) หรือเทียบเท่าตามหลักสูตรที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง

 2) มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่เจ็บป่วย หรือเป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือไม่มีความผิดปกติ ที่สำคัญ ที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาหรือการช่วยเหลือดูแลผู้อื่น

การคัดเลือกผู้เข้าอบรม

พิจารณาจากคะแนนสอบสัมภาษณ์ และประวัติโดยย่อ

จำนวนการรับสมัคร

รุ่นแรก รับจำนวน 50 คน

รุ่นถัดไป จะรับสมัครรุ่นละ 100 คน

โดยหนึ่งปี จะเปิดรับ 2 รุ่น

ค่าเล่าเรียนตลอดหลักสูตร

45,000 บาท (รวมค่าที่พัก ที่จะจ่ายให้กับมหาวิทยาลัยแล้ว)

กำหนดการรับสมัคร

รุ่นที่ 1 มีกำหนดการรับสมัคร ดังนี้
1) ประชาสัมพันธ์และรับสมัคร ตั้งแต่บัดนี้ – 31 สิงหาคม 2564
2) กำหนดการสอบสัมภาษณ์ ในวันเสาร์ที่ 11 กันยายน 2564
3) ปฐมนิเทศ ในวันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม 2564
4) อบรมภาคทฤษฎี ระหว่างวันที่ 4 ตุลาคม 2564 – 12 พฤศจิกายน 2564
5) อบรมภาคปฏิบัติ ระหว่างวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 – 31 มกราคม 2565

เมื่อสำเร็จการศึกษา

เมื่อจบการศึกษา จะได้รับประกาศนียบัตรฯ และสามารถสอบมาตรฐานวิชาชีพกับองค์การมาตรฐานวิชาชีพแห่งชาติ ได้

เมื่อแล้วจบ สามารถทำงาน……
1) โรงพยาบาลรัฐบาล (ทุกแผนก) และเอกชน
2) ศูนย์การแพทย์
3) คลินิกเวชกรรม
4) สถานดูแลเด็กเล็ก (Nursery)
5) สถานดูแลผู้สูงอายุ (Nursing Home)
6) ศูนย์สุขภาพ
7) โรงเรียนอนุบาล