สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์
B.B.A. (Retail and Franchise Business Management)
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์
บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์)
บธ.บ. (การจัดการธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์)
Bachelor of Business Administration (Retail and Franchise Business Management)
B.B.A. (Retail and Franchise Business Management)
องค์ความรู้หลักของสาขาวิชา
ผู้ที่ศึกษาในสาขาวิชานี้ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารร้านค้าปลีกและแฟรนไชส์ เช่น การเลือกทำเลที่ตั้งและการออกแบบร้านค้า การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน การจัดซื้อสินค้า การเจรจาต่อรองกับผู้จัดส่งสินค้าและผู้ผลิตสินค้า การบริหารสินค้า การบริหารหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์ เทคนิคการขายและการจัดการขาย การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ การตลาดดิจิทัล การเขียนแผนธุรกิจ การจัดการแบรนด์ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ และการเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์ เป็นต้น
แนวทางการประกอบอาชีพ
ผู้สำเร็จการศึกษาจากสาขาวิชานี้ สามารถเป็นบุคลากรขององค์การที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจค้าปลีกและ แฟรนไชส์ ซึ่งมีอยู่หลากหลายประเภท ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าปลีกที่จำหน่ายสินค้าเฉพาะอย่าง (ร้านเครื่องเขียน ร้านค้าวัสดุก่อสร้าง ร้านจำหน่ายอุปกรณ์กีฬา ร้านจำหน่ายเสื้อผ้า สินค้าเพื่อความงาม) และร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ที่เน้นขายสินค้าเฉพาะกลุ่ม (เครื่องใช้ไฟฟ้า วัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับการตกแต่งบ้านและสวน อุปกรณ์สำนักงาน) โดยสามารถผู้สำเร็จการศึกษาจากสาขาวิชานี้ สามารถเป็นบุคลากรขององค์การที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจค้าปลีกและ แฟรนไชส์ ซึ่งมีอยู่หลากหลายประเภท ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าปลีกที่จำหน่ายสินค้าเฉพาะอย่าง (ร้านเครื่องเขียน ร้านค้าวัสดุก่อสร้าง ร้านจำหน่ายอุปกรณ์กีฬา ร้านจำหน่ายเสื้อผ้า สินค้าเพื่อความงาม) และร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ที่เน้นขายสินค้าเฉพาะกลุ่ม (เครื่องใช้ไฟฟ้า วัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับการตกแต่งบ้านและสวน อุปกรณ์สำนักงาน) โดยสามารถ
1. ปฏิบัติงานเป็นผู้บริหารระดับต้นในหน่วยงานต่างๆ ขององค์การที่ดำเนินธุรกิจด้านค้าปลีกและ แฟรนไชส์ ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีการขยายสาขาและเติบโตมากในปัจจุบัน
2. สามารถก้าวหน้าในสายงานเป็นหัวหน้าแผนกและผู้จัดการฝ่ายต่าง ๆ ได้แก่ ฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาด ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายโลจิสติกส์ ฝ่ายคลังสินค้า หรือผู้จัดการร้าน
3. เป็นเจ้าของธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์ของตนเอง
4. เป็นอาจารย์ผู้สอนระดับวิชาชีพสาขาการจัดการธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์
จุดเด่นของสาขาวิชา
ผู้ศึกษาในสาขาวิชานี้จะได้เรียนรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการร้านค้าปลีกทั้งที่มีหน้าร้านและร้านค้าปลีกแบบออนไลน์ให้เกิดประสิทธิภาพ อีกทั้งได้เรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการที่มีความเป็นมืออาชีพในการสร้างแบรนด์ร้านค้าปลีกของตนเองและการขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์
กิจกรรมเสริมความรู้และประสบการณ์
1. ศึกษาดูงานด้านธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์
2. เชิญผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์บรรยายพิเศษในชั้นเรียน
3. ออกแบบ สร้างเว็บไซต์ และสื่อที่ใช้เป็นช่องทางในการขายสินค้าออนไลน์
4. ฝึกปฏิบัติงานด้านค้าปลีกและแฟรนไชส์
5. เข้าร่วมฝึกอบรม/สัมมนาเพื่อฝึกฝนทักษะวิชาชีพค้าปลีกและแฟรนไชส์/ทักษะการคิดที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21