สาขาวิชาสื่อวิทยุและโทรทัศน์ดิจิทัล
B.Com.Arts. (Digital Media and Broadcasting)
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
นิเทศศาสตรบัณฑิต (วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์)
นศ.บ. (วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์)
Bachelor of Communication Arts (Broadcasting)
B.Com.Arts (Broadcasting)
องค์ความรู้หลักของสาขาวิชา
มุ่งเน้นความรู้และทักษะกระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง โดยเริ่มต้นจากการสร้างสรรค์งานการผลิต การเขียนสคริปต์ การถ่ายทำ การตัดต่อ รวมทั้งการผลิตรายการทางวิทยุกระจายเสียง รูปแบบรายการต่าง ๆ เช่น รายการข่าว รายการนิตยสารทางอากาศ โดยมีการฝึกปฏิบัติในห้อง Studio TV ห้อง DJ Room
นิสิตจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการถ่ายภาพ โดยจะมีการฝึกปฏิบัติทั้งการถ่ายภาพดิจิทัลและการถ่ายภาพด้วยฟิล์ม ซึ่งจะมีห้อง Dark Room ให้นิสิตได้ฝึกปฏิบัติ และในทุกปีการศึกษาจะมีการส่งเสริมองค์ความรู้ โดยให้นิสิตไปศึกษาดูงานทั้งสถานีโทรทัศน์และสถานีวิทยุกระจายเสียง
นิสิตของสาขาวิชาฯ จะต้องออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพกับหน่วยงานภายนอก เป็นระยะเวลาประมาณ 2 เดือน ในชั้นปีที่ 3 ช่วงปิดภาคเรียนที่ 2 ซึ่งนิสิตสามารถเลือกสถานที่ได้ตามความสนใจ
แนวทางการประกอบอาชีพ
นิสิตที่สำเร็จการศึกษา สามารถเป็นบุคลากรขององค์การที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. นักวิชาการด้านการสื่อสาร
2. นักจัดรายการวิทยุโทรทัศน์
3.เจ้าหน้าที่ด้านวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์
4.ประกอบธุรกิจด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
จุดเด่นของสาขาวิชา
เป็นผู้ผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงและรายการโทรทัศน์ได้แบบเบ็ดเสร็จ หรือแบบ Back Pack
โดยนิสิตที่เรียนสาขาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ จะได้รับการอบรมหลักสูตรบัตรผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ในระดับต้น จากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ซึ่งสามารถไปอบรมหลักสูตรต่อในระดับกลางและระดับสูงได้
กิจกรรมเสริมความรู้และประสบการณ์
1. ฝึกการเรียนรู้จากห้องปฏิบัติการทางนิเทศศาสตร์ เช่น ห้อง Studio ห้อง DJ Room ห้อง Dark Room
2. ศึกษาดูงานจากสถานประกอบการจริง
3. ฝึกปฏิบัติงานจริงในงานของสถานีวิทยุกระจายเสียงและสถานีโทรทัศน์ หรือธุรกิจการผลิตสื่อ