สาขาวิชาเทคโนโลยีการเงินและการลงทุน
B.B.A. (Financial and Investment Technology)
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร
บริหารธุรกิจบัณฑิต (การและการธนาคาร)
บธ.บ. (การเงินและการธนาคาร)
Bachelor of Business Administration (Finance and Banking)
B.B.A. (Finance and Banking)
องค์ความรู้หลักของสาขาวิชา
เนื้อหาของการเรียนเกี่ยวกับการจัดหาเงินทุนและการจัดสรรเงินในรูปแบบต่าง ๆ ในตลาดเงินและตลาดทุน ดังนั้นเนื้อหาการเรียนการสอน มุ่งศึกษา 1) ด้านตลาดทุน ผลิตภัณฑ์ทางการเงินในรูปแบบต่าง ๆ การวิเคราะห์หลักทรัพย์ และการเงินระหว่างประเทศ และ 2) ด้านตลาดเงิน การวางแผนการเงินส่วนบุคคล และการเงินในส่วนขององค์กร รวมทั้งการประเมินและการวิเคราะห์ทางการเงินสำหรับโครงการขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดย่อม
นิสิตของสาขาวิชาฯ ต้องมีทักษะการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ตั้งแต่ปี 2 ถึง ปี 4 เข้าร่วมการสอบแข่งขันการวัดความรู้ทางด้านการเงินของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมทั้งการเข้าอบรมทางด้านการเงินและการลงทุนจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 45 ชั่วโมง
จากองค์ความรู้ที่นิสิตได้สะสมตั้งแต่ปี 2 ถึงปี 4 เพื่อสร้างให้นิสิตมีความรู้ทางด้านการเงินและการลงทุน และพร้อมผลักดันให้นิสิตเข้าสอบเพื่อสอบขึ้นทะเบียนใบอนุญาตในหลักสูตรผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์(ตราสารทุน ตราสารหนี้ กองทุน) หรือ Investment Consultant: IC
แนวทางการประกอบอาชีพ
1. สายการธนาคาร (Banking) พนักงานสินเชื่อ พนักงานประเมินสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ
2. การเงินของบริษัท (Corporate Finance) พนักงานการเงิน
3. สายหลักทรัพย์และวาณิชธนกิจ (Securities and Investment Banking) เช่น นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ วาณิชธนากร หรือผู้ส่งคำสั่งซื้อชายหลักทรัพย์ (Marketing)
4. สายจัดการลงทุน (Fund Management) เช่น นักวางแผนทางการเงิน หรือที่ปรึกษาการเงินและการลงทุน
จุดเด่นของสาขาวิชา
“นักการเงินมืออาชีพ”
มุ่งเน้นให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจในตลาดทุนในเชิงลึก พร้อมผลักดันให้นิสิตชั้นปี 4 ผ่านการทดสอบหลักสูตรผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ (ตราสารหนี้ กองทุน ตราสารทุน: Investment Consultant: IC)
กิจกรรมเสริมความรู้และประสบการณ์
1. เข้าร่วมแข่งขัน Young Financial Star กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
2. เข้าร่วมแข่งขัน เศรษฐศาสตร์เพชรยอดมงกุฎ กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
3. การอบรม New Breed IC