ห้องสมุด

RBAC Library

N

สถานที่ตั้ง

อาคาร G

N

เวลาทำการ

วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 น. – 16.30 น.
วันเสาร์ เวลา 08.30 น. – 16.30 น.

ปิดให้บริการในวันอาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์
และวันหยุดพักผ่อนประจำปีของมหาวิทยาลัย

N

เบอร์โทรศัพท์

02 375-4480-6 ต่อ 146 -148 (เบอร์ติดต่อหลัก 148)

RBAC E-Library

เกี่ยวกับฝ่ายหอสมุดกลาง

ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ

ปรัชญา :
บริการสารสนเทศ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้สู่สังคม

วิสัยทัศน์ :
เป็นศูนย์บริการสารสนเทศเพื่อสนับสนุนความก้าวหน้าทางวิชาการ และการให้บริการที่มีคุณภาพ

พันธกิจ :
1.แสวงหา จัดระบบ และพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภทที่ เอื้อประโยชน์ต่อการเรียนการสอน การวิจัย การทำนุบำรุงศิลป วัฒนธรรม และการศึกษา ค้นคว้าของผู้ใช้บริการ

2.การให้บริการที่ดี และมีคุณภาพแก่ผู้ใช้บริการอย่างเท่าเทียมกัน

3.สนับสนุนและส่งเสริมการให้บริการทางวิชาการของสถาบัน ชุมชน และสังคมตามพันธกิจของสถาบัน

4.มีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิผล และประสิทธิภาพตามหลัก ธรรมาภิบาล

แผนผังหอสมุดกลาง

ชั้นที่ 1

1.เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน ทรัพยากรสารสนเทศ

2.บริการจองหนังสือ

3.บริการหนังสือสำรอง

4.บริการหนังสือพิมพ์

5.บริการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร/ป้ายนิเทศ

6.มุมแนะนำหนังสือใหม่

7.ห้อง SEMINAR 1

8.ห้องปฏิบัติงานของบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่

ชั้นที่ 2

1.บริการวารสารใหม่

2.บริการวารสารล่วงเวลา

3.บริการวารสารเก่าเย็บเล่ม

4.บริการหนังสืออ้างอิง

5.บริการงานวิจัย และวิทยานิพนธ์

6.เคาน์เตอร์บริการ และแนะนำทรัพยากรสารสนเทศ

7.ห้อง SEMINAR 2 และ 3

 

ชั้นที่ 3

1.บริการหนังสือวิชาการภาษาไทย หมวด A – H
(หมวดความรู้ทั่วไป/ ศาสนา/ ประวัติศาสตร์ / สังคมศาสตร์ และบริหารธุรกิจ)

2.บริการหนังสือวิชาการภาษาอังกฤษ หมวด A – Z

3.บริการหนังสือนวนิยายและเรื่องสั้นภาษาอังกฤษ

4. บริการหนังสือวิชาการภาษาจีน หมวด A – Z

5.มุมหนังสือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

6.เคาน์เตอร์บริการ และแนะนำทรัพยากรสารสนเทศ

7.ห้อง SEMINAR 4 และ 5

 

ชั้นที่ 4

1.บริการหนังสือวิชาการทั่วไปภาษาไทย หมวด J – Z หมวดรัฐศาสตร์/ นิติศาสตร์/ การศึกษา/ ดนตรี/ ศิลปะ/ ภาษาศาสตร์/ วิทยาศาสตร์/ คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยี ฯลฯ)

2.บริการหนังสือนวนิยาย และเรื่องสั้นภาษาไทย

3.เคาน์เตอร์บริการ และแนะนำทรัพยากรสารสนเทศ

ข้อปฏิบัติในการใช้บริการ

1.รูดบัตรประจำตัวนิสิต อาจารย์ หรือเจ้าหน้าที่ทุกครั้ง กรณีบุคคลภายนอกต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ ที่เคาน์เตอร์บริการชั้น 1 พร้อมแสดงบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการ

2.แต่งกายสุภาพเรียบร้อยตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ

3.ห้ามสูบบุหรี่ นำอาหาร เครื่องดื่มหรือของขบเคี้ยวเข้ามารับประทาน

4.รักษามารยาทในการใช้บริการ ด้วยการไม่ส่งเสียงดัง หรือทำการใดๆ รบกวนผู้อื่น 

 5.หยิบหนังสือหรือเอกสารอย่างระมัดระวัง อย่ารื้อ หรือทำให้เกิดความไม่เป็นระเบียบ

6.เมื่ออ่านหนังสือเสร็จเรียบร้อยแล้วให้วางบนโต๊ะอ่านหนังสือ หรือบริเวณที่จัดวางหนังสือที่ใช้แล้ว ไม่ต้องนำไปเก็บที่เดิม ยกเว้นหนังสือพิมพ์ วารสาร และหนังสือสำรองที่จัดไว้เป็นส่วนพิเศษต้องนำกลับไปไว้ที่เดิม 

7.รักษาหนังสือ เอกสาร ทรัพยากรสารสนเทศทุกชนิดและทรัพย์สินของหน่วยงาน

8.โปรดระวัง และเก็บทรัพย์สินมีค่าของตนเอง 

9.รักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อย 

10.ห้ามตัด ฉีก ทำลาย หรือลักขโมยทรัพยากรและทรัพย์สินใดๆ หากทำผิดต้องรับโทษตามระเบียบที่กำหนดไว้

11.ห้ามเล่นการพนันทุกชนิด 

12.หากมีกระเป๋า หรือเอกสารโปรดให้เจ้าหน้าที่ตรวจสิ่งของทุกชนิด ก่อนออกทุกครั้ง 

บทลงโทษ 

นิสิตที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่กำหนดไว้ ถือว่ามีเจตนาฝ่าฝืนอาจถูกพิจารณาลงโทษอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือร่วมกัน ดังนี้ 

1.กล่าวตักเตือน 

2.เชิญออกจากหอสมุดกลาง 

3.ตัดสิทธิ์การยืมทรัพยากรสารสนเทศเป็นเวลา 1 เดือน 

4.ตัดสิทธิ์การใช้หอสมุดกลางเป็นเวลา 1 ภาคเรียน 

ระเบียบการยืม – คืน ทรัพยากร

บุคลากร

บริการ

การให้บริการ

1. บริการยืม – คืน ทรัพยากรสารสนเทศ

2. บริการหนังสือสำรอง

3. บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (www.2ebook.com/rbac)

4. บริการฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

5. บริการสืบค้นอินเทอร์เน็ต

6. บริการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ

7. บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า

8. บริการจองหนังสือ

9. บริการข่าวสารทันสมัย

10. บริการแนะนำและส่งเสริมการใช้บริการ

11. บริการเสนอแนะทรัพยากรสารสนเทศใหม่

12. บริการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร

13. บริการห้องศึกษาค้นคว้าแบบกลุ่ม (Seminar)

14. จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน

15. บริการสารสนเทศแก่บุคคลภายนอก

การยืม – คืน ทรัพยากรสารสนเทศ

การยืมทรัพยากรสารสนเทศ นิสิตมีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้

1.นิสิตจะต้องนำบัตรประจำตัวนิสิตมายืมด้วยตนเอง ห้ามมิให้ผู้อื่นนำไปใช้

2.สืบค้นรายการทรัพยากรสารสนเทศจากระบบคอมพิวเตอร์ไปหยิบ ทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการยืม พร้อมนำบัตรประจำตัวนิสิตมาติดต่อที่ เคาน์เตอร์บริการ ชั้น 1

3.ตรวจสอบสภาพทรัพยากรสารสนเทศก่อนยืมทุกครั้ง หากพบข้อบกพร่อง ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทราบ มิฉะนั้น นิสิตต้องรับผิดชอบในการชำรุดเสียหายของ
ทรัพยากรสารสนเทศแต่ละรายการ

4.เจ้าหน้าที่ประทับกำหนดวันคืนในใบกำหนดส่งของทรัพยากรสารสนเทศแต่ละ รายการพร้อมบันทึกข้อมูลการยืมลงระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์

5.นิสิตสามารถยืมติดต่อกันได้ หากคืนไม่เกินกำหนด หรือไม่มีผู้ใช้คนอื่น จองเอาไว้หรือทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ มีจำนวนน้อย แต่มีผู้ใช้ต้องการ ใช้จำนวนมาก

6.ไม่อนุญาตให้ยืมทรัพยากรสารสนเทศซ้ำชื่อเรื่องและชื่อผู้แต่งเดียวกัน

7.กรณีที่ประวัติการยืมทรัพยากรสารสนเทศเกินกำหนดคืน ไม่อนุญาตให้ยืมทรัพยากรสารสนเทศอื่นเพิ่ม

การคืนทรัพยากรสารสนเทศ นิสิตมีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้

1.นำทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการคืนมาติดต่อที่เคาน์เตอร์บริการ ชั้น 1

2.เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลการคืนทรัพยากรสารสนเทศดังกล่าว แล้วประทับ วันที่นำมาคืน

3.หากคืนเกินกำหนด ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่กำหนดไว้ โดยชำระผ่าน ระบบ e-Service

4.กรณีทรัพยากรสารสนเทศสูญหายหรือชำรุด ให้รีบติดต่อเจ้าหน้าที่ ที่เคาน์เตอร์บริการ ชั้น 1 เพื่อบันทึกการแจ้งทำทรัพยากรสารสนเทศสูญหาย หรือชำรุดโดยกำหนดระยะเวลาดำเนินการภายใน 7 วัน นับจากวันที่แจ้ง ดังนี้

4.1.จัดหาทรัพยากรสารสนเทศเรื่องและผู้แต่งเดียวกันมาแทน หรือเจ้าหน้าที่แจ้งรายการทรัพยากรสารสนเทศอื่นแทน พร้อมทั้งชำระ ค่าบริการในกระบวนการเทคนิค จำนวน 20 บาท /เล่ม /แผ่น ผ่านระบบ e-Service

4.2.กรณีที่ไม่สามารถหาทรัพยากรสารสนเทศมาทดแทนได้ ให้คิดเป็นเงิน โดยคิดตามราคาเล่ม /แผ่น พร้อมทั้งชำระค่าบริการในกระบวน การเทคนิค จำนวน 20 บาท /เล่ม /แผ่น ผ่านระบบ e-Service

5.สามารถให้ผู้อื่นนำทรัพยากรสารสนเทศมาคืนแทนได้

บอกเล่าเก้าสิบ

สถานที่เสี่ยงควรหลีกเลี่ยงช่วง “โควิด-19” ระบาด

วิธีลดหิว-กินจุบจิบ เพื่อ “ลดน้ำหนัก” อย่างได้ผล

กินอย่างไรให้ “ผอม” และ “สุขภาพดี”

ความเสี่ยง “กระเพาะอาหารอักเสบ” ที่คุณอาจไม่เคยรู้

เคล็ดลับทานอาหารเย็น อย่างไรไม่ให้อ้วน

ผักผลไม้ที่ไม่ควรปอกเปลือกก่อนทาน

อาหารบำรุงผิว-ต้านมะเร็ง มี “สารต้านอนุมูลอิสระ” สูง

อาหาร “ไขมัน” ทีดีต่อหัวใจ

อันตรายจาก “สลัดผัก” ที่คุณอาจไม่เคยรู้

วิธีลดความหิว เอาใจคนลดน้ำหนัก

อาหารบำรุงสมอง แก้ปัญหาขี้ลืม ง่ายๆ ด้วยการกิน

อาหารเย็นลดน้ำหนักกินแล้วหุ่นดีไม่มีพลาด!

เพราะแบบนี้ ถึงได้มีพุง!

วิธี “เพิ่มพลังสมอง” ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์!

ธัญพืชแบบไทยๆ คุณค่าทางอาหารสูง ไม่ควรมองข้าม

หวานซ่าดับร้อน ชวนก่อโรค

เทคนิคพิชิตร้อน

เมนูอาหารไทยแก้ท้องผูก แล้วปลุกระบบขับถ่าย

อาหารบำรุงร่างกายในยามที่รู้สึกเศร้าหมองหรือหดหู่

ออกกำลังกายเพิ่มความสดชื่นกันเถอะ

วิธีกำจัดตัวทำลายสมาธิ

สุดยอด 5 ผลไม้บำรุงเลือด

เมนูเพื่อสุขภาพฟันที่ดี

เลือกกินง่ายๆ ห่างไกลอ้วน

อาหารที่กินแล้วอารมณ์ดีดี๊

กินอาหารตามกรุ๊ปเลือด

แพทย์ย้ำ “สุรา” ทำสมองเสื่อม ร่างกายทรุดโทรม โรคแทรกซ้อนเฮมาเยือน

สาเหตุที่ทำให้คุณหน้าแกเกินวัย

เกี่ยวกันไหม? “ภาวะโรคอ้วน” กับการเกิด “มะเร็ง”

ต้องทำอย่างไรถ้าโดนแฮกบัญชีเฟซบุ๊ก

เตือนอันตรายเครื่องถ่ายเอกสาร สารเคมีเพียบ

นี่สิ…เด็ดจริง! 4 อาหารลดอ้วนเบิร์นไขมันหน้าท้องเพรียวกระชับ!

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศ

เปิดโลกการเรียนรู้ พัฒนาตนให้ก้าวไกล สร้างนิสัยรักการอ่าน
-เอกลักษณ์-

หอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรัตบัณฑิต
หอสมุดกลางเริ่มเปิดดำเนินการในปีการ ศึกษา 2542 ในสมัยที่เป็นวิทยาลัยรัตนบัณฑิต ใช้ชื่อว่า “ศูนย์บรรณสาร” โดยตั้งอยู่ ณ อาคาร E ชั้น 3 ห้อง E301 เป็นห้องยาวตลอดอาคาร และในปีการศึกษา 2546 ทบวงมหาวิทยาลัยได้อนุมัติจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “หอสมุดกลาง” จนถึงปัจจุบัน

ในปีการศึกษา 2550 ย้ายหอสมุดกลางมาเปิดทำการ ณ อาคาร G เป็นอาคารเอกเทศ 4 ชั้น มีเนื้อที่ชั้นละ 400 ตารางเมตร รวมทั้งตึกมีเนื้อที่ 1,600 ตารางเมตร ทำให้รองรับการให้บริการแก่ผู้ใช้มากยิ่งขึ้น และจัดสรรพื้นที่การให้บริการแก่ผู้ใช้ได้อย่างลงตัว

โดยปัจจุบัน หอสมุดกลางเปิดดำเนินการ ณ อาคาร THE LIBRARY (อาคาร G)

ปรัชญา (Philosophy)

บริการสารสนเทศ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้สู่สังคม

วิสัยทัศน์ (Vision)

เป็นศูนย์บริการสารสนเทศเพื่อสนับสนุนความก้าวหน้าทางวิชาการ และการให้บริการที่มีคุณภาพ

พันธกิจ (Mission)

1.แสวงหา จัดระบบ และพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภทที่ เอื้อประโยชน์ต่อการเรียนการสอน การวิจัย การทำนุบำรุงศิลป วัฒนธรรม และการศึกษา ค้นคว้าของผู้ใช้บริการ

2.การให้บริการที่ดี และมีคุณภาพแก่ผู้ใช้บริการอย่างเท่าเทียมกัน

3.สนับสนุนและส่งเสริมการให้บริการทางวิชาการของสถาบัน ชุมชน และสังคมตามพันธกิจของสถาบัน

4.มีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิผล และประสิทธิภาพตามหลัก ธรรมาภิบาล