หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ.)

สาขาวิชาการบัญชี

N

เป้าหมายชัดเจน!

N

รอบคอบแม่นยำ!

N

มีงานรองรับ!

N

จบไปทำงานอะไร?

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ.)

ระดับปริญญาตรี

Bachelor Degree

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ.)

Z

สาขาวิชาการบัญชี

Bachelor of Accountancy (B.Acc.)

เป้าหมายชัดเจน!

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา หลักสูตรบัญชีบัณฑิต คณะการบัญชี จัดการศึกษาตามหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทั้งนี้ยังได้จัดการอบรมเพิ่มเติมนอกหลักสูตร เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะทางวิชาชีพบัญชีเพิ่มเติมก่อนออกสู่ตลาดแรงงาน คณะการบัญชีได้มุ่งเน้นในการที่จะจัดให้มีการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้สอดคล้องกับตลาดแรงงานและสถานการณ์ปัจจุบัน รวมถึงการพัฒนาคณาจารย์และนิสิตให้มีความรู้ความสามารถเชิงวิชาการในวิชาชีพบัญชี โดยเน้นนิสิตให้เป็นนักปฏิบัติที่มีความรู้ ความสามารถ ทักษะและความชำนาญในการปฏิบัติงานทางบัญชีและมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นผู้มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เพื่อประกอบวิชาชีพบัญชีตามความต้องการของตลาดแรงงาน อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่น สังคมและประเทศชาติ จนเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปของสถานประกอบการ นอกจากนี้ ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรบัญชีบัณฑิตของคณะการบัญชี ยังสามารถสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาในสถาบันการศึกษาทั้งภายในประเทศและต่างประเทศได้ ดังนั้น จากเป้าหมายที่กำหนดไว้ จะทำให้รู้ว่าตัวเองชอบเรียนบัญชีหรือไม่? จบแล้วจะเลือกทำงานด้านบัญชีหรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง? การมีเป้าหมายที่ชัดเจนจะช่วยให้น้องๆ ที่สนใจเรียนบัญชี ไม่ต้องเสียเวลาค้นหาตัวเองให้เจอ และสามารถเรียนรู้ได้อย่างสนุกสนาน พร้อมกับพัฒนาตนเองด้วยการฝึกภาษาก็จะยิ่งสามารถประสบความสำเร็จได้อย่างแน่นอน และนอกจากนี้หลักสูตรบัญชีบัณฑิต คณะการบัญชี มีการพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ได้วางไว้ 

รอบคอบแม่นยำ!

        “ความน่าเชื่อถือ” คือสิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนบัญชีที่ RBAC เพราะที่นี่เรามุ่งเน้นให้นิสิตมีความรู้และความเข้าใจในการทำบัญชีอย่างถูกต้อง แม่นยำ จนถึงการใช้ชีวิตต่างๆ เช่น การตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบ จึงทำให้นิสิตสามารถมั่นใจได้ว่าจะประสบความสำเร็จในอาชีพ นักบัญชีได้อย่างแน่นอน ความรอบคอบแม่นยำนั้น จะต้องเริ่มจากการเตรียมตัวในการเรียน การวางแผนการเรียนการสอน การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

ควรเตรียมตัวในการเรียนอย่างไร?

                ลำดับแรก มีใจรัก มีศรัทธา และไม่เชื่อคำพูดคนอื่นโดยที่ยังไม่ได้พิสูจน์ มีใจรัก คืออะไร คือ รักในการที่จะเรียนบัญชีทั้งๆ ที่ยังไม่เคยรู้เลยว่าจะต้องเรียนอะไรบ้าง จะต้องเจออะไรบ้าง มันเป็นรักแรกพบ มีศรัทธา คือ ความเลื่อมใส ความเชื่อมั่นว่าวิชาชีพบัญชีจะนำพาไปสู่ความสำเร็จ เมื่อจบแล้วสามารถทำให้มีงานทำ สามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ ดังนั้นคนเรียนบัญชีย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพบัญชี และเป็นสมาชิกที่ดีของวิชาชีพบัญชีด้วยความเต็มใจ ความรักและศรัทธาในวิชาชีพบัญชี และการเป็นสมาชิกที่ดีของวิชาชีพบัญชี หมายถึง การแสดงออกด้วยความชื่นชมและเชื่อมั่นในอาชีพบัญชีด้วยตระหนักว่าอาชีพนี้เป็นอาชีพที่มีเกียรติ มีความสำคัญและจำเป็นต่อสังคม พึงปฏิบัติงานด้วยความเต็มใจและภูมิใจรวมถึงปกป้องเกียรติภูมิของวิชาชีพบัญชี  และสุดท้ายไม่เชื่อคำพูดคนอื่นโดยที่ยังไม่ได้พิสูจน์ แน่นอนในวงการการศึกษาสายบริหาร บัญชีขึ้นชื่อว่า เรียนยาก เหนื่อย ลำบาก งานเยอะ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่คนอื่นเขาพูดกัน  เราก็อย่าเพิ่งไปเชื่อคำพูดเหล่านั้นทั้งๆ ที่ยังไม่ได้พิสูจน์ด้วยตนเอง เราต้องพิสูจน์ด้วยตนเองให้เห็นเป็นประจักษ์เลยว่าที่เขาพูดกันมานะจริงหรือไม่ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วอาจจะไม่เป็นเช่นนั้นก็ได้ เราอาจจะพบว่า เรียนบัญชียากก็จริงแต่ท้าทาย เหนื่อยก็จริงแต่เราสู้ไหว ลำบากก็จริงแต่เราอดทนได้ งานเยอะก็จริงแต่เราบริหารจัดการได้ จงเชื่อมั่นในตนเอง หลังจากมีใจรัก มีศรัทธา และไม่เชื่อคำพูดคนอื่นโดยที่ยังไม่ได้พิสูจน์

                การเตรียมตัวในลำดับต่อไป คือ ปฏิบัติตามที่อาจารย์ผู้สอนได้มีการวางแผนการสอนไว้ตามลำดับอย่างเคร่งครัด ไม่ควรออกนอกลู่นอกทาง ถ้าเตรียมตัวแบบนี้ได้ เชื่อมั่นว่าทุกคนสามารถประสบความสำเร็จในการเรียนบัญชีได้อย่างง่ายดาย และเป็นบุคลากรทางบัญชีที่มีความรอบคอบแม่นยำ นำพามาซึ่งความน่าเชื่อถือ

คณะการบัญชีสอนอะไรบ้าง?

          เบื้องต้นสอนเนื้อหาเกี่ยวกับบัญชีในทุกๆ ประเด็น ตามโครงสร้างหลักสูตรจนกว่าจะจบการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ทางด้านการบัญชี สร้างคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียนบัญชี เช่น ขยัน อดทน มุ่งมั่น พยายาม ความรอบคอบแม่นยำ ละเอียด รักความก้าวหน้า มีความสามารถวิเคราะห์ปัญหาและวิเคราะห์งานได้อย่างมีระบบ และซื่อสัตย์ ฯลฯ และนอกเหนือจากความรู้ตามโครงสร้างหลักสูตรแล้ว อาจารย์ในคณะการบัญชีทุกท่านยังสอดแทรก สอน อบรม เกี่ยวกับการดำรงชีวิตประจำวันในทุกๆ บริบท เช่น การเป็นนิสิตต้องปฏิบัติตัวอย่างไร การเป็นรุ่นพี่ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร การเป็นรุ่นน้องต้องปฏิบัติตัวอย่างไร แม้กระทั้งการที่จะออกไปทำงานจริงต้องปฏิบัติตัวอย่างไร  รวมถึงเรื่องการมีครอบครัว การเลี้ยงบุตร ปัญหาเรื่องสุขภาพ ปัญหาในการทำงาน จนเป็นที่กล่าวขานจากนิสิตคณะบัญชีว่า เรียนบัญชีที่ไหนไม่อบอุ่นและได้รับความรักเท่ากับเรียนบัญชีที่ RBAC

นอกจากนี้ยังมีการสอดแทรกหลักธรรมคำสอนกับการเรียนบัญชีด้วยหลักธรรม “อิทธิบาท 4” เป็นแนวทางเรียนรู้ การทำงานให้ประสบความสำเร็จ อันประกอบด้วยแนวปฏิบัติ 4 ข้อ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา

  1. ฉันทะ คือ การมีใจรักในสิ่งที่ทำ ใจที่รักอันเกิดจากความศรัทธาและเชื่อมั่นต่อสิ่งที่ทำ เพราะฉะนั้นนิสิตคณะการบัญชีมีใจรักในวิชาชีพบัญชี มีความศรัทธาในอาชีพบัญชี และมีความเชื่อมั่นว่าอาชีพบัญชีสามารถทำให้นิสิตมีงานทำ เลี้ยงดูตนเองและคนในครอบครัวได้เป็นอย่างดี
  2. วิริยะ คือ ความมุ่งมั่นทุ่มเท เป็นความมุ่งมั่นทุ่มเททั้งกายและใจที่จะเรียนรู้และทำให้เข้าถึงแก่นแท้ของสิ่งนั้น เรื่องนั้น เช่น มุ่งมั่นที่จะทำงานเกี่ยวกับบัญชี ทุ่มเทกับงานด้านบัญชี และพัฒนาตนเองไปสู่ผู้ทำบัญชีที่มีคุณภาพ ไปสู่การเป็นนักบัญชีภาษีอากร ไปสู่การเป็นผู้ตรวจสอบบัญชี เป็นต้น
  3. จิตตะ คือ ใจที่จดจ่อและรับผิดชอบ เมื่อมีใจที่จดจ่อแล้วก็จะเกิดความรอบคอบ ซึ่งสิ่งนี้เป็นคุณสมบัติอันดับต้นๆ ของผู้ที่จบบัญชี
  4. วิมังสา คือ การทบทวนในสิ่งที่ได้คิดได้ทำมา อันเกิดจากการมีใจรัก (ฉันทะ) และทำด้วยความมุ่งมั่น (วิริยะ) อย่างใจจดใจจ่อและรับผิดชอบ (จิตตะ) โดยใช้การพิจารณาอย่างรอบรู้และรอบคอบ จึงนำไปสู่การทบทวนตนเอง (วิมังสา) ดังนั้น “อิทธิบาท 4” จึงมีความหมายกับทุกคน ทุกวัย ทุกรุ่น และโดยเฉพาะนิสิตที่เรียนบัญชี เมื่อปฏิบัติตามแล้วจะกลายเป็นคุณสมบัติของนักบัญชีที่เป็นที่ต้องการของผู้ประกอบการ

บัญชี  Step 4

          บัญชี Step 4 หมายถึง การใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิตของนิสิตคณะการบัญชี ตั้งแต่วันที่ก้าวเข้ามาเป็นนิสิตคณะการบัญชีจนถึงวันที่สำเร็จการศึกษา และออกไปสู่ตลาดแรงงานตามที่ตั้งเป้าหมายไว้

          Step 1 : ก้าวแรก

          เป็นการก้าวเข้ามาในรั้วน้ำเงินทองก้าวแรกในวันขึ้นทะเบียนนิสิต โดยการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากคณาจารย์และรุ่นพี่ มีการชี้แจงเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของคณะการบัญชี 

          Step 2 : ก้าวปัจจุบัน

          เป็นการจัดกิจกรรมการส่งเสริมพัฒนานิสิต และการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21  รวมทั้งการเสริมสร้างทักษะด้านต่างๆ ที่จำเป็นเพื่อเตรียมพร้อมกับการเข้าสู่วิชาชีพ เป็นการจัดกิจกรรมทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนให้กับนิสิตคณะการบัญชีทุกชั้นปีตลอดหลักสูตร ทั้งทางด้านวิชาการ ด้านสันทนาการ โดยเริ่มจากการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา การปฐมนิเทศ และฐานการเรียนรู้ออนไลน์ เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนานิสิตให้มีความพร้อมทางการเรียน การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่เกี่ยวกับการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อสังคมส่วนรวม การเคารพในความแตกต่าง กติกา สิทธิของผู้อื่น และความเสมอภาค ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ทำให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและนิสิตสามารถศึกษาจนจบหลักสูตร (กิจกรรม/โครงการต่างๆ เช่น ติวก่อนสอบปลายภาค, ศึกษาต้นทุนสินค้าธุรกิจชุมชน (OTOP), การวางแผนกำไร, การวิเคราะห์งบการเงินเปรียบเทียบ, การเรียนรู้ด้วยตนเองจากกรณีศึกษา, Excel เพื่องานบัญชี, การเตรียมความพร้อมนิสิตก่อนออกฝึกงาน, บัญชีสัมพันธ์, อ้อมกอดพี่ AC Love You, เลือกตั้งคณะกรรมการนิสิต, ตักบาตรน้องใหม่, ไหว้พระเก้าวัด, แข่งขันเฟรชชี่เกมส์,  คุณธรรม จริยธรรม (พลังแผ่นดิน), และโครงการอบรมร่วมกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าในโครงการ “สร้างนักบัญชีคุณภาพรุ่นใหม่” (Young & Smart Accountant) ฯลฯ

Step 3 : ก้าวแห่งความสำเร็จ

          ด้วยความมุ่งมั่นและทุมเทของคณาจารย์คณะการบัญชี ทั้งในเรื่องการเรียนการสอน และการให้ความสำคัญในเรื่องการดูแลนิสิต การแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับนิสิต โดยผ่านช่องทางต่างๆ ตลอดเวลา และการพบปะนิสิตอย่างสม่ำเสมอ ทำให้นิสิตได้รับความอบอุ่นและมีความสุขตลอดการเรียน คงอยู่ในหลักสูตรและสามารถจบการศึกษาตามระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนดอย่างภาคภูมิใจ  

Step 4 : ก้าวของการทำงาน

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา คณะการบัญชีได้มุ่งเน้นในการที่จะจัดให้มีการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้สอดคล้องกับตลาดแรงงานและสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเน้นนิสิตให้เป็นนักปฏิบัติที่มีความรู้ ความสามารถ ทักษะและความชำนาญในการปฏิบัติงานทางบัญชีและมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นผู้มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เพื่อประกอบวิชาชีพบัญชีตามความต้องการของตลาดแรงงาน อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่น สังคมและประเทศชาติ จนเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปของสถานประกอบการ จึงทำให้นิสิตคณะการบัญชีจบแล้วมีงานทำ 

มีงานรองรับ!

                เมื่อเรียนจนจบหลักสูตรแล้วมีงานรองรับเกือบ 100%  เพราะเป็นอาชีพที่ทุกบริษัทหรือองค์กรจำเป็นต้องมี จะเห็นได้ชัดจากผลการจัดอันดับของเว็บหางานและองค์กรต่างๆ ที่ให้งานบัญชีเป็นอาชีพขาดแคลนและเป็นที่ต้องการที่สุดอยู่ตลอด ถ้าใครเรียนดี หมั่นเข้าร่วมกิจกรรมเสริมประสบการณ์ จะโดนจองตัวทำงานกันตั้งแต่ยังเรียนไม่จบเลยก็ได้ และที่สำคัญคือใครที่มีทักษะภาษาอังกฤษหรือภาษาที่ 3 จะเพิ่มคุณค่าให้กับตัวเอง เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน

                ค่าตัวสูงและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามประสบการณ์ เพราะนักบัญชี เป็นอาชีพที่ขาดแคลนที่สุดอาชีพหนึ่งในทุกยุค! องค์กรหรือบริษัทต่างๆ ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ต่างก็แย่งชิงตัวนักบัญชีหรือผู้สอบบัญชีที่มากประสบการณ์ ด้วยข้อเสนอและค่าตอบแทนที่สูงขึ้นเรื่อยๆ 

                อาชีพเสรี มีโอกาสโกอินเตอร์ทั่วโลก นักบัญชี ถือเป็น 1 ใน 8 อาชีพที่มีข้อตกลงให้สามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานได้อย่างเสรีในประเทศสมาชิกอาเซียน นอกจากความต้องการในประเทศจะสูงมากแล้ว นักบัญชีที่มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญภาษา ก็ยังมีโอกาสโกอินเตอร์สามารถไปทำงานในต่างประเทศพร้อมกับรายได้ที่สูงยิ่งขึ้นไปอีกหลายเท่าตัวด้วย

                เป็นได้ทั้งเจ้าของกิจการหรือจะทำฟรีแลนซ์ นอกจากจะทำงานประจำนั่งโต๊ะแล้ว นักบัญชีก็ยังสามารถรับทำบัญชีแบบอิสระหรือฟรีแลนซ์ได้ และค่าตอบแทนก็ดีมากด้วย เพราะอาชีพนักบัญชี ถือเป็นวิชาชีพอิสระ เป็นงานที่ต้องมีการควบคุม ดังนั้นหากใครไม่ต้องการกินเงินเดือนเป็นลูกจ้างองค์กร ก็สามารถออกมาทำงานเป็นงาน ผู้ตรวจสอบบัญชี หรือตั้งบริษัทรับทำบัญชีเป็นนายตัวเองได้แน่นอน

                ไม่มีใครแย่งงาน แต่นักบัญชีสามารถทำงานอื่นได้ เพราะอาชีพ นักบัญชี (Accountant) และ ผู้สอบบัญชี (Auditor) ถือเป็นวิชาชีพอย่างหนึ่งที่ต้องผ่านการเรียนและสอบใบประกอบวิชาชีพ มีกฎหมายกำหนดไว้ว่าต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาบัญชีเท่านั้น จึงจะมาทำหน้าที่นี้ได้ จึงไม่ต้องกังวลว่าจะมีคนสายอื่นมาแย่งงานเรา แต่คนเรียนจบบัญชีไปสามารถเปลี่ยนสายงานทำได้หลากหลาย เช่น งานธนาคาร งานที่ปรึกษา งานวางแผนควบคุมภายใน งานวางระบบบัญชี หรืออื่นๆ ในฝั่งบริหารก็สามารถไปทำได้หมด แม้กระทั่งงานราชการ หรือธุรกิจส่วนตัว เด็กบัญชีสามารถทำได้และทำได้ค่อนข้างดีมาก

จบไปทำงานอะไร?
  • ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (Certified Public Accountants: CPA)
  • ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (Tax Auditor: TA)
  • ผู้ตรวจสอบภายใน (Internal Auditor: IA)
  • ผู้ช่วยผู้สอบบัญชีของสำนักงานสอบบัญชี
  • เจ้าหน้าที่ตรวจเงินแผ่นดิน (General Accounting  Office  Auditor: GAO)
  • พนักงานบัญชีของหน่วยงานภาครัฐ / เอกชนผู้ทำบัญชีอิสระ
  • ผู้วางระบบบัญชี
  • นักบัญชีบริหาร
  • ที่ปรึกษาด้านบัญชี ด้านภาษีอากร ด้านระบบการควบคุมภายใน
  • พนักงานสถาบันการเงิน/ฝ่ายจัดซื้อ/ฝ่ายคลังสินค้าฝ่ายวางแผนกำไร/ฝ่ายงบประมาณ

          อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบวิชาชีพบัญชีได้ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 และพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 รวมทั้งวิชาชีพอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งในลักษณะของการประกอบวิชาชีพอิสระและการทำงานในองค์กรหรือหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ ดังต่อไปนี้

                ทำงานด้านการทำบัญชี เป็นนักบัญชี/ พนักงานบัญชี/ เจ้าหน้าที่ทางการเงิน/สมุห์บัญชี ทำหน้าที่ในการจัดการงบประมาณ วิเคราะห์แผนการเงิน ตรวจสอบดูแลทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเงินของบริษัทหรือองค์กรนั้น เรียกว่าสามารถทำงานได้แทบทุกองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการเงินและมีแผนกบัญชี อาทิ ธนาคาร บริษัทประกันภัย องค์กรธุรกิจเอกชน รัฐบาล และสถานประกอบการต่างๆ รวมไปถึงบริษัทที่รับทำบัญชีให้บริษัทอื่นอีกที 

                ด้านการบัญชีภาษีอากร เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี (Tax Specialist) อาชีพนี้มีหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่องค์กรในด้านการปฏิบัติภาษีอากร กฎหมายภาษี เพื่อลดความเสี่ยงทางภาษีในด้านต่างๆ ให้กับหน่วยงานหรือบริษัท เพื่อช่วยวางแผนและแก้ปัญหาในการเสียภาษีให้แก่องค์กรต่างๆ ยื่นแบบรายการภาษีเงินได้ทุกประเภท เป็นที่ต้องการอย่างมากในปัจจุบันและสามารถปรับเปลี่ยนโยกย้ายทำงานได้หลากหลายแบบ

                ด้านการสอบบัญชี เป็นผู้ตรวจสอบบัญชี (Auditor) เป็นผู้ให้บริการทางการบัญชีแก่สถานประกอบกิจการบุคคล สถาบันเอกชน หรือหน่วยงานรัฐบาล รวมถึงการควบคุมดูแลการทำบัญชี และการตรวจสอบบัญชี การรับรองความถูกต้อง และความครบถ้วนในการทำบัญชี และเอกสารทางการเงิน มีหน้าที่ดูตัวเลขทางบัญชีและเซ็นเอกสารรับรองการบัญชีของบริษัทต่างๆ และหากเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) จะทำให้มีโอกาสก้าวหน้าในการงานมากยิ่งขึ้น

                ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) อาชีพอิสระรายได้ดีเป็นที่ใฝ่ฝันของนักบัญชีหลายคน ผู้สอบบัญชีรับใบอนุญาต” (Certified Public Accountant) คือผู้ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชี โดยมีคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี (ก.บช.) เป็นผู้ออกระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์การปฏิบัติต่างๆ เพื่อควบคุมดูแล มีหน้าที่ในการเข้าไปตรวจการจัดทำงบการเงินของบริษัทต่างๆ เพื่อรับรองว่าบริษัทนั้นทำถูกต้องหรือไม่

                ด้านการให้คำปรึกษาทางการเงินและบัญชี  เป็นที่ปรึกษาทางบัญชีอาชีพที่ปรึกษาทางบัญชี สามารถเป็นอาชีพทั้งอิสระและทำงานในองค์กรด้านนี้โดยตรง ซึ่งเป็นอีกสายงานที่มีรายได้สูงทั้งในและต่างประเทศ โดยผู้ให้บริการด้านคำปรึกษาด้านบัญชีและภาษี มีหน้าที่จัดทำ แก้ไข วางระบบ และตรวจสอบบัญชีและภาษีภายในองค์กรเพื่อให้การดำเนินงานอยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน

                รับราชการ การเป็นนักบัญชี ผู้อำนวยการบัญชี นักวิเคราะห์และวางแผนการเงิน หรือตำแหน่งอื่นๆ ในหน่วยงานราชการ อันดับแรกต้องเริ่มจากเริ่มจากสมัครและสอบเข้า ก.พ. หรือสอบตรง แล้วจึงจะสามารถสมัครเข้าทำงานที่เปิดรับ ข้อดีของการเป็นพนักงานบัญชีของรัฐนั้นก็คือ ความมั่งคง สวัสดิการดี ดูแลเรื่องการเจ็บป่วยของพ่อแม่และครอบครัว ถ้าอยู่จบเกษียณก็จะมีเงินบำนาญไว้ให้อุ่นใจในบั้นปลายชีวิตนั่นเอง

                ครู/ อาจารย์/ ติวเตอร์ นอกเหนือจากการทำงานด้านบัญชีโดยตรงแล้ว นักบัญชียังสามารถใช้วิชาชีพที่มีไปถ่ายทอดแก่ผู้อื่นด้วยการเป็นอาจารย์หรือติวเตอร์ ในสถาบันการศึกษาต่างๆ ถ้าจบปริญญาตรี ระดับที่สามารถสอนได้คือ ปวช. ปวส. แต่ถ้าอยากเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ต้องมีการเรียนต่อปริญญาโท สาขาบัญชีก็สามารถกลับมาเป็นอาจารย์อยู่ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่นักศึกษาได้เช่นกัน

                ธุรกิจส่วนตัว คนที่เรียนจบด้านพาณิชย์และการบัญชีสามารถนำความรู้ที่เรียนมาไปประกอบธุรกิจส่วนตัวได้โดยง่าย เพราะมีความเข้าใจในระบบการบริหารจัดการรายได้ต่างๆ อย่างดี โดยนักบัญชีที่ผันตัวมาประกอบธุรกิจส่วนตัว อาจมีประสบการณ์การทำงานมานานและเก็บเกี่ยวความรู้ ทักษะการทำธุรกิจและการบริหารงานมาแล้วพอสมควร 

ปรัชญาคณะการบัญชี

 สร้างบัณฑิตให้มีความรู้ มุ่งสู่การปฏิบัติ พัฒนาวิชาชีพสู่ชุมชน ประพฤติตนด้วยคุณธรรม

ความเป็นมาคณะการบัญชี

คณะการบัญชี มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต เริ่มเปิดการเรียนการสอนเกี่ยวกับด้านบัญชีในปีการศึกษา 2542 โดยตอนนั้นเป็นภาควิชาการบัญชี อยู่ภายใต้คณะบริหารธุรกิจ ต่อมาในปีการศึกษา 2551 ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนและเปลี่ยนจากภาควิชาการบัญชีมาเป็น “ภาควิชาการบัญชี คณะบัญชี” เพื่อสอดรับกับการจัดหลักสูตรที่เป็นไปตามมาตรฐานอุดมศึกษา และเพื่อให้นิสิตจบการศึกษามีความรู้ความสามารถตรงกับความต้องการตลาดแรงงานให้มากที่สุด จนถึงปีการศึกษา 2555 ได้ปรับปรุงและเปลี่ยนเป็นหลักสูตรบัญชีบัณฑิต อยู่ภายใต้การบริหารของกลุ่มสาขาวิชาบริหารธุรกิจและการบัญชี จนถึงปีการศึกษา 2561 คณะการบัญชีก็ได้แยกตัวในการบริหารคณะออกมาอย่างเป็นเอกเทศ โดยมีหลักสูตรระดับปริญญาตรี (Undergraduate degree) เพียงหลักสูตรเดียว คือ หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (Bachelor of Accountancy Program) ชื่อปริญญาคือ บัญชีบัญฑิต (บช.บ)  Bachelor of Accountancy (B.Acc.) และบริหารในนามคณะการบัญชีมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 จนถึงปัจจุบัน ภายใต้หลักสูตรบัญชีบัณฑิต คณะการบัญชีคณะการบัญชี มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต เริ่มเปิดการเรียนการสอนเกี่ยวกับด้านบัญชีในปีการศึกษา 2542 โดยตอนนั้นเป็นภาควิชาการบัญชี อยู่ภายใต้คณะบริหารธุรกิจ ต่อมาในปีการศึกษา 2551 ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนและเปลี่ยนจากภาควิชาการบัญชีมาเป็น “ภาควิชาการบัญชี คณะบัญชี” เพื่อสอดรับกับการจัดหลักสูตรที่เป็นไปตามมาตรฐานอุดมศึกษา และเพื่อให้นิสิตจบการศึกษามีความรู้ความสามารถตรงกับความต้องการตลาดแรงงานให้มากที่สุด จนถึงปีการศึกษา 2555 ได้ปรับปรุงและเปลี่ยนเป็นหลักสูตรบัญชีบัณฑิต อยู่ภายใต้การบริหารของกลุ่มสาขาวิชาบริหารธุรกิจและการบัญชี จนถึงปีการศึกษา 2561 คณะการบัญชีก็ได้แยกตัวในการบริหารคณะออกมาอย่างเป็นเอกเทศ โดยมีหลักสูตรระดับปริญญาตรี (Undergraduate degree) เพียงหลักสูตรเดียว คือ หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (Bachelor of Accountancy Program) ชื่อปริญญาคือ บัญชีบัญฑิต (บช.บ)  Bachelor of Accountancy (B.Acc.) และบริหารในนามคณะการบัญชีมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 จนถึงปัจจุบัน ภายใต้หลักสูตรบัญชีบัณฑิต คณะการบัญชี จากสถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกทำให้มีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี รวมทั้งมีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่หลากหลาย ก่อให้เกิดการเปิดเขตการค้าเสรีเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อรูปแบบของระบบเศรษฐกิจ ระบบการค้า ระบบการเงินและการลงทุน ดังนั้น การดำเนินธุรกรรมทางการเงินจึงมีรูปแบบและเครื่องมือที่หลากหลาย ส่งผลให้เกิดความจำเป็นที่ต้องมีแนวปฏิบัติทางการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจและสนับสนุนการบริหารจัดการที่ดี ยังผลให้ประเทศไทยต้องพัฒนากำลังคนในวิชาชีพบัญชีให้มีความรู้ ทักษะความสามารถในระดับสากล และสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม ดังนั้น จึงต้องมีการปรับปรุงหลักสูตรบัญชีบัณฑิตเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องกับตลาดแรงงานและสถานการณ์ปัจจุบัน ในปีการศึกษา 2563 ได้ทำการปรับปรุงหลักสูตรอีกครั้งตามวาระการปรับปรุงหลักสูตร โดยเพิ่มรายวิชาอัตลักษณ์ที่นิสิตจำเป็นต้องนำไปใช้ในการปฏิบัติงานจริง ประกอบด้วยวิชา เทคโนโลยีสำหรับวิชาชีพบัญชี ภาษาอังกฤษสำหรับนักบัญชี การบัญชีหน่วยงานภาครัฐ และการบัญชีสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นต้น ซึ่งการปรับปรุงหลักสูตรครั้งล่าสุด หลักสูตรบัญชีบัณฑิต มุ่งที่จะผลิตบัณฑิตทางการบัญชีให้เป็นนักปฏิบัติที่มีความรู้ ความสามารถ ทักษะและความชำนาญในการปฏิบัติงานทางบัญชีและมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นผู้มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เพื่อประกอบวิชาชีพบัญชีตามความต้องการของตลาดแรงงาน อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่น สังคมและประเทศชาติ ดังเช่นปรัชญาที่ระบุไว้ว่า“สร้างบัณฑิตให้มีความรู้ มุ่งสู่การปฏิบัติ พัฒนาวิชาชีพสู่ชุมชน ประพฤติตนด้วยคุณธรรม” 

รายละเอียดหลักสูตร

หลักสูตร
บัญชีบัณฑิต (ภาคปกติ 4 ปี สำหรับผู้ที่จบ ปวช. ม.6 กศน.)
(ภาคปกติ 2 ปี ถึง 2 ปีครึ่ง สำหรับผู้ที่จบ ปวส.)
บัญชีบัณฑิต (ภาคเสาร์ อาทิตย์ 2 ปี ถึง 2 ปีครึ่ง สำหรับผู้ที่จบ ปวส.)

ชื่อหลักสูตรชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรบัญชีบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Accountancy Program

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย)        :        บัญชีบัณฑิต

ชื่อย่อ (ภาษาไทย)         :        บช..

ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ)      :        Bachelor of Accountancy

ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ)       :        B.Acc.

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

132 หน่วยกิต

รูปแบบของหลักสูตร

หลักสูตรระดับปริญญาตรี  4 ปี

 

ประเภทของหลักสูตร (เฉพาะหลักสูตรระดับปริญญาตรี)

หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ

 

ภาษาที่ใช้

ภาษาไทย

 

ความร่วมมือกับสถาบันอื่น

เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิตที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง

 

การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา

ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว คือ บัญชีบัณฑิต (บช..) Bachelor of Accountancy (B.Acc.)

 

การดำเนินการหลักสูตร

วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน

ภาคการศึกษาที่ 1         เดือนมิถุนายน เดือนตุลาคม

ภาคการศึกษาที่ 2         เดือนพฤศจิกายน เดือนมีนาคม

ภาคการศึกษาฤดูร้อน     เดือนเมษายน เดือนพฤษภาคม

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

รับนิสิตไทยและนิสิตต่างประเทศที่ใช้ภาษาไทยได้ โดยมีคุณสมบัติดังนี้

     (1)  สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือผู้ที่จบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)

     (2)  สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

     (3)  จากสถาบันอื่นในระดับอุดมศึกษา ที่ต้องการเปลี่ยนสถานศึกษา

     (4) ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง และแพทย์มีความเห็นว่า มีสุขภาพเหมาะที่จะเข้าเรียนได้

     (5) ไม่มีความประพฤติที่สังคมรังเกียจและไม่บกพร่องในศีลธรรมอันดี

     (6) ไม่เป็นผู้วิกลจริต จิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ

     (7) ไม่ฝักใฝ่ในลัทธิที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ

     (8) มีผู้รับรอง ซึ่งมีที่อยู่ที่ทางมหาวิทยาลัยสามารถติดต่อได้ตลอดเวลา

 

การเทียบโอนหน่วยกิต รายวิชา และการลงทะเบียนเรียนข้ามมหาวิทยาลัย

     นิสิตที่เคยหรือกำลังศึกษาในหลักสูตรอื่นของมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาอื่น เมื่อเข้าศึกษาในหลักสูตรนี้ สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ได้โดยให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการและระเบียบมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต พ.ศ. 2560  ซึ่งการเทียบโอนหน่วยกิต และรายวิชาสามารถทำได้ทั้งในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชาเฉพาะและหมวดวิชาเลือกเสรี โดยจำนวนหน่วยกิตที่เทียบโอนได้ทั้งหมดต้องไม่เกินจำนวนสามในสี่ของจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร

 

โครงสร้างหลักสูตร

แบ่งเป็นหมวดวิชาที่สอดคล้องกับที่กำหนดไว้ในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป  ไม่น้อยกว่า                       30       หน่วยกิต

          กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์                           6      หน่วยกิต

          กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์                          6      หน่วยกิต

          กลุ่มวิชาภาษา                                 12      หน่วยกิต

          กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์        3       หน่วยกิต

          กลุ่มวิชาสุขพลานามัย                           3      หน่วยกิต

หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า                              96       หน่วยกิต

          กลุ่มวิชาแกน                                   30       หน่วยกิต

          กลุ่มวิชาเอกบังคับ                             48       หน่วยกิต

          กลุ่มวิชาอัตลักษณ์                             12       หน่วยกิต

          กลุ่มวิชาเอกเลือก                               6      หน่วยกิต

หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า                             6      หน่วยกิต

โลโก้คณะการบัญชี

หลักสูตร/วุฒิที่ได้รับ

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ.) 
Bachelor of Accountancy (B.Acc.)

ระดับปริญญาตรี

Bachelor Degree

Faculty of Engineering and Technology

Z

7. คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี

สมัครเรียนออนไลน์ RBAC

12 + 10 =

Rattana Bundit University

มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต

 

N

เครื่องแบบนิสิตฟรี

N

เอกสารประกอบการเรียนฟรี

N

บริการหอพักฟรี

N

บริการสระว่ายน้ำ/ฟิตเนส

N

รถรางรับ - ส่งระหว่างหอพัก